ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิตามินช่วยต้านภูมิแพ้ เสริมภูมิคุ้มกัน

วิตามินต้านภูมิแพ้...
วิตามินต้านภูมิแพ้ มีอะไรน่าสนใจอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

วิตามินซี

      งานวิจัยล่าสุดโดยวารสาร The Cochrane Database of Systematic Reviews พบว่า วิตามินซีไม่ได้ช่วยป้องกันโรคหวัด แต่สามารถช่วยให้โรคหวัดหายเร็วขึ้น นอกจากนี้หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาของโรคคือ วันละ 1-3 กรัม แต่ควรกินต่อเนื่องกันสักระยะหนึ่ง เพราะหากกินตอนเริ่มเป็นหวัดแล้วจะไม่สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้
นอกจากนี้หากต้องการเสริมวิตามินซี ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยอาจแบ่งกินเช้าและเย็นหรือเช้า กลางวัน เย็น ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินซีที่กินใน 1 วัน โดยวิธีแบ่งกินหลายครั้งช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ดีกว่าการกินในครั้งเดียว
ผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกหวาน มะระขี้นก ผักเหลียง ผักหวานบ้าน มะเขือเทศ ตำลึง ดอกแค ผักกระเฉด ผักกาดขาว ผักโขม ผักคะน้า พริก มะกอกไทย มะขามป้อม กะหล่ำปลี แครอต กะหล่ำดอก ส่วนผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่งแป้นสีทอ ง ลิ้นจี่ จักรพรรดิ เงาะโรงเรียน มะละกอ แขกดำ มะม่วงเขียวเสวยดิบ ส้ม เชอร์รี่ มะละกอสุก กล้วย สับปะรด
 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วิตามินดี

      วารสาร The British Medical Journal ทำการศึกษากับอาสาสมัคร 11,000 คนทั่วโลก โดยการเก็บข้อมูลผลของวิตามินดีกับโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดบวม พบว่า การเสริมวิตามินดีเป็นประจำอาจมีผลช่วยลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ศาสตราจารย์เอเดรียน  มาร์ติโน (Adrian Martineau) จากควีนแมรี มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน (Queen Mary University of London) อังกฤษ อธิบายว่า วิตามินดีอาจช่วยเพิ่มระดับเปปไทด์ต้านจุลชีพ (Antimicrobial Peptides) เปปไทด์สายสั้นมีบทบาทสำคัญในกลไก
การป้องกันตัวของร่างกาย (Host Defense Mechanism) ต่อการบุกรุกของเชื้อจุลชีพก่อโรค และทำหน้าที่คล้ายยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติในการต่อต้านเชื้อก่อโรคภายในปอด
นอกจากนี้รายงานจากวารสาร European Respiratory ยังพบว่า วิตามินดีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหืดกำเริบรุนแรงชนิดที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน รวมถึงพบว่า วิตามินดีช่วยลดอัตราการเกิดโรคหืดที่ต้องรักษาด้วยยาเม็ดสเตียรอยด์ (Steroid)
แต่ทั้งนี้นักวิจัยสรุปว่า แม้พบว่าวิตามินดีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหืด แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใช้ได้ผลกับทุกคน นอกจากนี้การเสริมวิตามินดีอาจให้ผลดีกับเฉพาะผู้ที่ขาดหรือมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำเท่านั้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อหาคำตอบและยืนยัน
ผลการศึกษาต่อไป
เพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อรับแสงแดดอ่อนๆยามเช้า พร้อมสวมเสื้อผ้าที่เผยผิวเพื่อรับวิตามินดี เช่น เสื้อกล้ามเสื้อยืดแขนสั้น สำหรับคนผิวขาวแนะนำให้ตื่นมารับแสงแดดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 45 นาที ส่วนผู้ที่มีผิวคล้ำควรได้รับแสงแดดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง จึงจะได้รับวิตามินดีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
โดยชายและหญิงที่มีอายุ 19 – 50 ปี ควรได้รับวิตามินดีวันละ 5 ไมโครกรัม ส่วนผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไปควรได้รับวิตามินดีวันละ 10 ไมโครกรัม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

สังกะสี

      เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาโดยวารสาร BMC Family Practice พบว่า การเสริมสังกะสี(Zinc Acetate Lozenges) ปริมาณสูงช่วยให้หวัด
หายเร็วขึ้น
นักวิจัยแนะนำให้เสริมสังกะสีวันละ 80 มิลลิกรัม โดยเริ่มกินภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีอาการหวัดและกินติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการต่างๆ ระหว่างเป็นหวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ เสียงแหบ และไอ ช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น 37 22 18 43 และ 46 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่ไม่พบว่าสังกะสีมีผลลดระยะเวลาอาการปวดศีรษะและเป็นไข้
สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย หากกินอาหารได้ตามปกติจะไม่ขาด ยกเว้นในผู้ป่วย เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคเบาหวาน ผู้ที่กินอาหารไม่สมดุล ผู้ที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ดื่มสุรา หรือกินยาปฏิชีวนะเป็นประจำ
ข้อมูลจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยแนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปควรได้รับสังกะสีวันละ 13 มิลลิกรัม ผู้หญิงควรได้รับสังกะสีวันละ 7 มิลลิกรัม สังกะสีมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล โยเกิร์ต งา ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี โดยหอยนางรม 100กรัม มีสังกะสีสูงถึง 75 กรัม ถั่วแดงสุก เต้าหู้แข็ง ถั่วลันเตาสุก โยเกิร์ตอย่างละครึ่งถ้วย มีสังกะสีประมาณ 1 มิลลิกรัม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

วิตามินอีและเบต้าแคโรทีน

      งานวิจัยจากวารสาร The Central European Journal of Medicine พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีมีผลดีต่อผู้ป่วยโรคหืด เพียงกินอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) สูงเป็นประจำ อีกทั้งวารสาร Allergy and Clinical Immunology ยังพบว่า วิตามินอีและเบต้าแคโรทีนมีส่วนช่วยบรรเทาอาการหืดและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
นอกจากนี้ผลการศึกษาจากศูนย์เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรคหอบหืดและชีววิทยาปอด (The Center for Environmental Medicine, Asthma and Lung Biology) มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ชาเปลฮิลล์ (University of North Carolina at Chapel Hill) ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังพบว่า การเสริมวิตามินอีชนิดแกมมา-โทโคฟีรอล (Gamma-Tocopherol) วันละ 623 มิลลิกรัม นาน 1 – 2 สัปดาห์ สามารถช่วยลดและป้องกันการอักเสบทั้งในผู้ป่วยโรคหืดและผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
เบต้าแคโรทีนพบมากในผักและผลไม้สีเหลือง ส้ม และผักใบเขียว เช่น ฟักทอง แครอต มะละกอ แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักโขม บรอกโคลี(Broccoli) ส่วนวิตามินอีพบมากในน้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก เมล็ดทานตะวัน เฮเซลนัท (Hazelnut) ฟักทอง ผักโขม บรอกโคลี สาหร่าย อะโวคาโด (Avocado) แบล็กเบอร์รี่ (Blackberry) มะม่วง ปลาแซลมอน (Salmon) ปลาทูน่า (Tuna) เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ฉะนั้นควรกินอาหารที่มี เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีสูงร่วมกับอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันพืชที่อุดมไปด้วยไขมันดี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิตามินอี อาหาร ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เบต้าแคโรทีน





อ้างอิง : https://goodlifeupdate.com/healthy-body/128007.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคี้ยวกี่ครั้ง สุขภาพถึงจะดี ??

สุขภาพดีเริ่มง่ายๆ ด้วยการเคี้ยว คุณเคยสังเกตตัวเองหรือไม่ว่า ใช้เวลาในการเคี้ยวอาหารคำละกี่ครั้ง   คนส่วนใหญ่มักทำไปตามนิสัยส่วนตัว แต่รู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของการเคี้ยวให้ละเอียดนั้น ส่งผลดีต่อสุขภาพมากเพียงใด ซึ่งเรื่องนี้  “ อาจารย์แววตา เอกชาวนา ”   นักโภชนาการบำบัด และผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ ให้ข้อมูลว่า   การเคี้ยวอาหาร ให้ละเอียดก่อนกลืนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นด่านแรกที่จะทำให้อาหารมีความละเอียดขึ้น ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ช่วยให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น และยังทำให้มีระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีเป็นปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี  แต่ถ้าหากเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ กระเพาะของเราจะต้องรับภาระในการย่อยอาหารมากขึ้น ยิ่งอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ กระเพาะจะต้องหลั่งกรด และมีการบีบตัวที่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดหรือท้องเฟ้อตามมา           นักโภชนาการบำบัดผู้นี้ บอกอีกว่า   การเคี้ยวอาหารให้ถูกต้องนั้นคือ เคี้ยวประมาณ 10 ครั้งสำหรับอาหารที่นิ่ม เช่นข้าว หรือ ขนมปัง ขณะเดี

4 สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ ลดพุง ลดหน้าท้อง

        ทำไมต้องใช้ สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ !      ฟังดูเหลือเชื่อแต่มันคือเรื่องจริงว่าเฉพาะพื้นผิวลำไส้เล็ก ก็มีขนาดถึง 250 ตารางเมตร หรือเท่ากับสนามเทนนิส 2 สนามเลยทีเดียว!!!   แต่เมื่ออยู่ในช่องท้องของเราจะมีรูปทรงหดย่นพับไปพับมา และเต็มไปด้วยซอกมากมาย และซอกตามรอยพับนี่แหละค่ะ ที่เป็นแหล่งสะสมของ “ตะกรันลำไส้” ที่เกิดจากการทานอาหารมันๆ ย่อยยาก รวมถึงอุจจาระเก่าที่ตกค้างจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลา อาจดูน่าตกใจ แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันสามารถสะสมอยู่ในลำไส้ของเราได้หลายกิโลกรัมเลยทีเดียวนะคะ ลำไส้ที่มีตะกรันสะสมมากๆ เสี่ยงกับอะไรบ้าง         - เป็นสิว ผิวพรรณไม่สดใส - มีกลินตัว - มีกลิ่นปากแบบไม่ทราบสาเหตุ - ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย - ถ่ายยาก ถ่ายไม่สุด - ท้องผูก ขับถ่ายไม่เป็นเวลา - มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง หรือท้องเสียบ่อย - มีอาการคล้ายกรดไหลย้อน (ซึ่งเกิดจากแก๊สในลำไส้) - เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ ทำเองง่ายๆ สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ สูตรที่ 1 น้ำมะนาว+น้ำอุ่น      สูตรนี้ง่ายสุดๆ แต่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ ห

8 วิธีกิน "บุฟเฟ่ต์" ยังไงไม่ให้ "อ้วน"

1. เลือกเวลาทานบุฟเฟ่ต์    เวลาที่เราอยากทานบุฟเฟ่ต์ จะเลือกช่วงเวลาประมาณ บ่าย 2 - บ่าย 3 โมงเย็นค่ะ ถ้ารู้ตัวว่าจะมาทานบุฟเฟ่ต์ ก็จะไม่ทานมื้อกลางวัน และจะเริ่มทานบุฟเฟ่ช่วงเวลาประมาณบ่าย 2-3 โมง กว่าจะกินอิ่มก็ 4 โมงเย็นหรือ 5 โมงเย็น จะได้งดมื้อเย็นไปในตัวค่ะ เท่ากับว่ากิน 2 มื้อรวมกันคือมื้อกลางวันกับมื้อเย็น นั่นแปลว่าถ้าเราตัดสินใจจะทานบุฟเฟ่ต์ เราก็ต้องตัดใจไม่ทานอาหารมื้ออื่นๆ แล้วค่ะ 2. อย่ายัด    บุฟเฟ่ต์หลายร้านมักจะมีเวลากำหนด อาจจะ 1.30 ชั่วโมง หรือ 2.00 ชั่วโมง แล้วแต่ร้าน หลายคนกลัวไม่คุ้ม จึงรีบกิน เน้นกินเยอะ ฟาดเรียบทุกอย่าง แถมยังสั่งนู้นนี่นั่นมาเยอะเกินกำลังที่ตัวเองจะกินไหว ผลสุดท้าย ต้องมานั่งยัดอาหารที่เหลือ เพราะถ้ากินไม่หมดก็กลัวจะโดนปรับ - _- อยากบอกว่า ให้ค่อยๆ สั่งค่ะ สั่งทีละนิด แต่สั่งอาหารให้หลากหลาย อันไหนอร่อยค่อยสั่งเพิ่ม ค่อยๆ กิน ค่อยๆ เคี้ยว อย่ารีบกินเพื่อแข่งกับเวลา เพราะถ้าทำแบบนั้นจะกลายเป็นว่าเรากินทุกอย่างที่ขวางหน้า แบบนี้ความพยายามที่จะลดความอ้วนมา 2 เดือนเต็มนั้นสูญเปล่าแน่ๆ 3. เลือกกินแต่โปรตีนและผัก    บุฟเ