ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

รักษาโรคมะเร็งง่ายๆด้วยการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายรักษาโรคมะเร็ง       การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ เรื่องนี้หลายคนคงรู้หรือได้รับการบอกให้รู้มานานแล้ว ออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพแน่นอน ในเมื่อคนไม่ป่วย ออกกำลังกายก็แข็งแรงขึ้น ทำไมคนป่วยจะออกกำลังกายเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้นไม่ได้ การออกกำลังกายป้องกันมะเร็ง - 29%  ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั้งในช่วงก่อนและหมดประจำเดือน โดยลดความเสี่ยงในผู้หญิงเอเชียและแอฟริกันร้อยละ 41  ลดความเสี่ยงในผู้หญิงอินเดียร้อยละ 38  และลดความเสี่ยงในผู้หญิงตะวันตกร้อยละ 20 - 27%  สร้างสมดุลฮอร์โมนเอสโทรเจนและโปรเจสเทอโรน ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม - 24%  ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้โดยทั้งนี้ต้องเป็นผู้ที่มีค่า BMI ได้มาตรฐาน - 19%  ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มชาวเอเชียและแอฟริกันที่มีอายุระหว่าง 20-65 ปี - 23%  ช่วยลดค่า BMI (BodyMass Index)  จึงลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ***แทบจะไม่พบว่าการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น  มะเร็งเม็ดเลือดขาว  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ การออกกำลังกาย >> ระหว่างการรักษา • ฮอร์โมน

วิตามินช่วยต้านภูมิแพ้ เสริมภูมิคุ้มกัน

วิตามินต้านภูมิแพ้... วิตามินต้านภูมิแพ้ มีอะไรน่าสนใจอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ   วิตามินซี       งานวิจัยล่าสุดโดยวารสาร The Cochrane Database of Systematic Reviews พบว่า วิตามินซีไม่ได้ช่วยป้องกันโรคหวัด แต่สามารถช่วยให้โรคหวัดหายเร็วขึ้น นอกจากนี้หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาของโรคคือ วันละ 1-3 กรัม แต่ควรกินต่อเนื่องกันสักระยะหนึ่ง เพราะหากกินตอนเริ่มเป็นหวัดแล้วจะไม่สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้ นอกจากนี้หากต้องการเสริมวิตามินซี ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยอาจแบ่งกินเช้าและเย็นหรือเช้า กลางวัน เย็น ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินซีที่กินใน 1 วัน โดยวิธีแบ่งกินหลายครั้งช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ดีกว่าการกินในครั้งเดียว ผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกหวาน มะระขี้นก ผักเหลียง ผักหวานบ้าน มะเขือเทศ ตำลึง ดอกแค ผักกระเฉด ผักกาดขาว ผักโขม ผักคะน้า พริก มะกอกไทย มะขามป้อม กะหล่ำปลี แครอต กะหล่ำดอก ส่วนผลไม้ที่มี

เทคนิคแก้ปากแห้ง ช่วงหน้าหนาว

เทคนิคง่ายๆ แก้ปากแห้ง แตก ช่วงหน้าหนาว อาการปากแห้งแตก      ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้น ตึง แห้ง ลอกเป็นขุย เป็นแผ่น หากเคลื่อนไหวริมฝีปากมากๆ ก็อาจแตกปริทำให้มีเลือดไหลซึมออกมา เมื่อหายแล้วอาจทิ้งรอยด่างดำและดูหมองคล้ำไม่สดใส ทำไมริมฝีปากจึงแห้งแตกได้ง่าย ??      ริมฝีปากไม่มีต่อมไขมันช่วยสร้างน้ำมันเพื่อปกป้องเหมือนกับผิวหนังส่วนอื่นๆ ทั้งยังต้องสัมผัสกับอาหาร ตลอดจนสารเคมีต่างๆ นอกจากนั้นปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเคยตัวบางอย่างก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน ตัวการทำริมฝีปากแห้งแตก !!      อย่ามองข้ามของใช้หรือพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุที่แท้จริง -  การดื่มน้ำน้อย เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้น เพราะบริเวณริมฝีปากจะสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงได้ง่าย -  ลม ฟ้า อากาศ อากาศร้อนลมแรงทำให้สูญเสียความชุ่มชื้น ขณะที่อากาศเย็นและแห้งอย่างในฤดูหนาวทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี แม้แต่คนที่นั่งทำงานในสำนักงานที่เปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ก็มีริมฝีปากแห้งแตกได้เหมือนกัน -  แสงแดด การถูกแสงแดดเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน หรือบ่อยครั้ง ทำให้ริ