ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Tips! สารอาหารเพื่อผู้สูงอายุ อร่อยแถมได้สุขภาพ




   เมื่อพูดถึงผู้สูงอายุแล้ว การเลือกอาหารที่ดีต่อใจอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย (ถึงท่านจะอยากได้ก็ตาม) แต่อย่างไรคนเป็นลูกหลานอย่างเราๆ ก็ต้องเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นอันดับหนึ่งมาก่อนเสมอ แต่บางคนก็อาจไม่รู้ว่าควรปรุงยังไง เลือกยังไง วัตถุดิบอะไรที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพของคนรุ่น 60 อัพ… ด้วยสภาพร่างกายที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษยิ่งกว่าเด็กๆ เราจึงต้องศึกษากันก่อนเลือกเมนูสักนิด แต่ก็ไม่ต้องถึงขนาดจัดแต่อาหารเพื่อสุขภาพมาให้ท่านทุกวัน คงน่าเบื่อแย่ เราจึงมีทิปส์ดีๆ เพื่อให้เลือกทานได้อร่อย โดยไม่ทำร้ายร่างกายมาฝากกัน

Fiber

ขึ้นชื่อว่าไฟเบอร์ หลายคนคงนึกถึงอาหารพวกผักผลไม้ เพราะเป็นอาหารที่มีกากใยสูง แล้วไฟเบอร์ดียังไง? ไฟเบอร์ที่เป็นเส้นใยชนิดละลายน้ำได้ จะช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายให้สมดุล ซึ่งคอเลสเตอรอลก็ถือเป็นผู้ร้ายตัวสำคัญในโลกของผู้สูงอายุเลยทีเดียว นอกจากนี้มันยังมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ซึ่งถ้าลุงจ๋าป้าจ๋าที่เบื่อผัก ก็สลับไปทานผลไม้ หรือถั่วในบางวันได้


ไข่ขาว

พอพูดถึงไข่ ผู้สูงอายุหลายคนก็คงอยากกินอยู่แล้ว แต่ก็จะติดกับความเชื่อเดิมๆ ว่ากินไม่ได้ เพราะมีโคเลสเตอรอลสูง แต่จริงๆ แล้วไข่ก็เป็นวัตถุดิบที่อุดมด้วยประโยชน์สูงมาก เช่น บำรุงสายตา บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำเป็นเลิศ เสริมภูมิต้านทานเพื่อสู้โรคภัยได้ และป้องกันการติดเชื้อ คุณลุงคุณป้าสามารถกินได้ในปริมาณที่พอดีๆ เช่น สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง


ลดเกลือ-น้ำตาล แทนที่ด้วยเครื่องเทศ-สมุนไพร

สำหรับผู้สูงอายุแล้ว ควรลดทุกอย่างที่เป็นรสชาติลง ไม่รสจัด ไม่หวานไป ไม่เค็มไป ไม่เผ็ดไป แต่นั่นก็จะกลายเป็นอาหารจืดๆตามโรงพยาบาลที่ใครๆ ก็ไม่อยากกิน แต่วิธีที่จะทำให้อาหารยังคงอร่อยมีรสชาติกลมกล่อมอยู่นั้นก็คือการแทนที่รสชาติปรุงแต่งแบบเดิมๆ ด้วยการใส่เครื่องเทศ-สมุนไพรที่มีประโยชน์เข้าไปแทนที่ โดยเลือกตัวที่แทนรสชาติที่ต้องการได้ แต่ใช้เป็นส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพแทน


เคี้ยวง่าย อ่อนนุ่ม

นี่เป็นอีกคีย์หลักในการเลือกอาหารให้คุณลุงคุณป้าได้ เลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย ผ่านการต้ม หรือตุ๋นจนเปื่อย นุ่ม รสไม่จัด แต่ยิ่งถ้าเป็นอาหารที่มีเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูง ย่อยง่าย ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา ก็จะยิ่งดี เพราะเนื้อปลาจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ป้องกันหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจได้


นม

นม ยังคงเป็นไอเท็มเด็ดที่ดีต่อสุขภาพ แต่เมื่อร่างกายเราเข้าสู่ช่วงแห่งการเริ่มต้นใหม่อย่างผู้สูงวัย ก็ควรเลือกชนิดของนมด้วยว่าเหมาะกับร่างกายแค่ไหน แต่ เลือกนมที่มีไขมันต่ำอย่างนมพร่องมันเนย นมสด นมเปรี้ยว ซึ่งส่วนมากผู้สูงอายุควรเลือกนมพร่องมันเนย เพราะจะให้โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ยิ่งคุณป้าที่มีน้ำหนักตัวมาก การดูแลเรื่องโรคกระดูกพรุนจึงสำคัญมาก ต้องได้แคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอให้กระดูกแข็งแกร่ง แต่ถ้าใครที่ดื่มนมไม่ได้ควรดื่มนมถั่วเหลืองแทนจะได้โปรตีนจากถั่วจ้ะ





อ้างอิง : http://www.younghappy.org/th/tip-healthy/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 วิธีกิน "บุฟเฟ่ต์" ยังไงไม่ให้ "อ้วน"

1. เลือกเวลาทานบุฟเฟ่ต์    เวลาที่เราอยากทานบุฟเฟ่ต์ จะเลือกช่วงเวลาประมาณ บ่าย 2 - บ่าย 3 โมงเย็นค่ะ ถ้ารู้ตัวว่าจะมาทานบุฟเฟ่ต์ ก็จะไม่ทานมื้อกลางวัน และจะเริ่มทานบุฟเฟ่ช่วงเวลาประมาณบ่าย 2-3 โมง กว่าจะกินอิ่มก็ 4 โมงเย็นหรือ 5 โมงเย็น จะได้งดมื้อเย็นไปในตัวค่ะ เท่ากับว่ากิน 2 มื้อรวมกันคือมื้อกลางวันกับมื้อเย็น นั่นแปลว่าถ้าเราตัดสินใจจะทานบุฟเฟ่ต์ เราก็ต้องตัดใจไม่ทานอาหารมื้ออื่นๆ แล้วค่ะ 2. อย่ายัด    บุฟเฟ่ต์หลายร้านมักจะมีเวลากำหนด อาจจะ 1.30 ชั่วโมง หรือ 2.00 ชั่วโมง แล้วแต่ร้าน หลายคนกลัวไม่คุ้ม จึงรีบกิน เน้นกินเยอะ ฟาดเรียบทุกอย่าง แถมยังสั่งนู้นนี่นั่นมาเยอะเกินกำลังที่ตัวเองจะกินไหว ผลสุดท้าย ต้องมานั่งยัดอาหารที่เหลือ เพราะถ้ากินไม่หมดก็กลัวจะโดนปรับ - _- อยากบอกว่า ให้ค่อยๆ สั่งค่ะ สั่งทีละนิด แต่สั่งอาหารให้หลากหลาย อันไหนอร่อยค่อยสั่งเพิ่ม ค่อยๆ กิน ค่อยๆ เคี้ยว อย่ารีบกินเพื่อแข่งกับเวลา เพราะถ้าทำแบบนั้นจะกลายเป็นว่าเรากินทุกอย่างที่ขวางหน้า แบบนี้ความพยายามที่จะลดความอ้วนมา 2 เดือนเต็มนั้นสูญเปล่าแน่ๆ 3. เลือกกินแต่โปรตีนและผัก    บุฟเ

เคี้ยวกี่ครั้ง สุขภาพถึงจะดี ??

สุขภาพดีเริ่มง่ายๆ ด้วยการเคี้ยว คุณเคยสังเกตตัวเองหรือไม่ว่า ใช้เวลาในการเคี้ยวอาหารคำละกี่ครั้ง   คนส่วนใหญ่มักทำไปตามนิสัยส่วนตัว แต่รู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของการเคี้ยวให้ละเอียดนั้น ส่งผลดีต่อสุขภาพมากเพียงใด ซึ่งเรื่องนี้  “ อาจารย์แววตา เอกชาวนา ”   นักโภชนาการบำบัด และผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ ให้ข้อมูลว่า   การเคี้ยวอาหาร ให้ละเอียดก่อนกลืนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นด่านแรกที่จะทำให้อาหารมีความละเอียดขึ้น ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ช่วยให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น และยังทำให้มีระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีเป็นปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี  แต่ถ้าหากเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ กระเพาะของเราจะต้องรับภาระในการย่อยอาหารมากขึ้น ยิ่งอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ กระเพาะจะต้องหลั่งกรด และมีการบีบตัวที่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดหรือท้องเฟ้อตามมา           นักโภชนาการบำบัดผู้นี้ บอกอีกว่า   การเคี้ยวอาหารให้ถูกต้องนั้นคือ เคี้ยวประมาณ 10 ครั้งสำหรับอาหารที่นิ่ม เช่นข้าว หรือ ขนมปัง ขณะเดี

10 เมนูอาหารเย็น แคลอรี่ต่ำ ไม่เกิน 200 Kcal!!

  การจะหา อาหาร เย็นแคลอรี่ต่ำๆ ทานหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยาก เพราะขากลับบ้าน เดินผ่านตลาด ของกินข้างทาง มีแต่ไก่ทอด แกงกะทิ และอีกหลายเมนูที่อร่อยเข้มข้น แต่อ้วนสุดๆ เรามาดูกันดีกว่าว่าอาหารอร่อยง่ายสบายท้อง พร้อมแคลอรี่ต่ำสุดๆ มีอะไรน่าทานบ้าง 1. ก๋วยเตี๋ยวหมูสับน้ำใส 200 กรัม 140 Kcal     เลือกน้ำใสๆ หมูสับแบบไม่ติดมัน หรือติดมันให้น้อยที่สุด ประโคมผักเยอะๆ ปรุงรสให้น้อยเข้าไว้ และเส้นให้น้อยกว่าผักครึ่งหนึ่ง หรือจะเกาเหลาก็โอเค ให้เต็มที่ไปเลย 200 กรัม ยังไม่ถึง 150 Kcal เลยคิดดู อย่าลืมบอกพี่คนขายว่าไม่ต้องราดกระเทียมเจียวด้วยนะ 2. แกงส้มผักรวมกับปลา 200 กรัม 100 Kcal + ข้าวกล้อง 80 Kcal = 180 Kcal     ใครที่คิดว่าก๋วยเตี๋ยวยังไม่อยู่ท้อง มาที่ข้าวกับแกงส้มได้เลย คุณพระ! แกงส้มผักรวมสุดแซ่บ กับปลาอร่อยๆ รวมกันยังไม่ถึง 200 Kcal รับรองว่าอิ่ม อร่อย รสชาติจัดจ้านแบบไทยแน่นอน แต่ถ้าจะให้ดี ทำแกงส้มด้วยตัวเองไปเลย จะควบคุมปริมาณเครื่องปรุงที่ใส่ลงไปในแกงได้ดีกว่านะ 3. แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้ไข่หมูสับ 200 กรัม 110 Kcal + ข้าวกล้อง 80 Kcal = 190