ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รักษาโรคมะเร็งง่ายๆด้วยการออกกำลังกาย


ออกกำลังกายรักษาโรคมะเร็ง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ออกกําลังกาย

      การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ เรื่องนี้หลายคนคงรู้หรือได้รับการบอกให้รู้มานานแล้ว ออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพแน่นอน ในเมื่อคนไม่ป่วย ออกกำลังกายก็แข็งแรงขึ้น ทำไมคนป่วยจะออกกำลังกายเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้นไม่ได้

การออกกำลังกายป้องกันมะเร็ง

- 29% ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั้งในช่วงก่อนและหมดประจำเดือน โดยลดความเสี่ยงในผู้หญิงเอเชียและแอฟริกันร้อยละ 41  ลดความเสี่ยงในผู้หญิงอินเดียร้อยละ 38  และลดความเสี่ยงในผู้หญิงตะวันตกร้อยละ 20
- 27% สร้างสมดุลฮอร์โมนเอสโทรเจนและโปรเจสเทอโรน ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
- 24% ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้โดยทั้งนี้ต้องเป็นผู้ที่มีค่า BMI ได้มาตรฐาน
- 19% ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มชาวเอเชียและแอฟริกันที่มีอายุระหว่าง 20-65 ปี
- 23% ช่วยลดค่า BMI (BodyMass Index)  จึงลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
***แทบจะไม่พบว่าการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น  มะเร็งเม็ดเลือดขาว  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การออกกำลังกาย >> ระหว่างการรักษา

• ฮอร์โมนเพศ  แม้การออกกำลังกายจะไม่ช่วยลดหรือเพิ่มฮอร์โมนเอสโทรเจนและแอนโดรเจนในผู้ป่วยมะเร็ง  แต่จากการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
• ฮอร์โมนอินซูลิน  เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักและไขมัน  หลังจากการให้คีโมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก  โดย The American College of Sports Medicine แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 150 – 250 นาที จะเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มและช่วยลดน้ำหนัก  แถมยังช่วยเพิ่มคุณภาพของเลือด โดยเฉพาะความสมดุลของคอเลสเตอรอล  ซึ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ช่วยสร้างสมดุลให้อินซูลิน
• ภูมิคุ้มกันและการอักเสบ  การไม่ออกกำลังกายเป็นการลดภูมิคุ้มกัน  ขณะที่การออกกำลังกายมากเกินไปก็เป็นการเพิ่มภาวะการอักเสบ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการออกกำลังกายมีผลดีต่อภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งขณะรับการรักษา

การออกกำลังกาย >> หลังการรักษา

• ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับอาการของโรค ฟื้นตัวเร็วขึ้นหลังจากได้รับยาเคมี  อีกทั้งยังช่วยยืดระยะเวลาการกลับมาเป็นซ้ำ
• ช่วยลดขั้นตอนการวินิจฉัย ทั้งก่อนและหลังการบำบัด ในผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ในรายที่ออกกำลังกายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
• ช่วยเสริมผลในการใช้ยาเคมีบำบัด ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
• ช่วยผ่อนคลายความเครียด
• ช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยมะเร็ง
• ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม
• ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงรักษาและผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
• ช่วยเสริมสร้างระบบกล้ามเนื้อ เพิ่มความหนาแน่นของกล้ามเนื้อลีนโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีมักเกิดภาวะกระดูกบาง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจึงช่วยให้กระดูกไม่เปราะแตกง่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ออกกําลังกายรักษาโรคมะเร็ง

ข้อมูลจาก

ผลงานวิจัยชื่อ Cancer, Physical Activity, and Exercise  โดย จัสติน  ซี.  บราวน์(Justin C. Brown) ออกัสติน  ลี(Augustine Lee)  และแคทริน เอช.  ชมิตซ์(Kathryn H. Schmitz)  วิทยาลัยการแพทย์เพอเรลแมน  มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  พร้อมด้วยเคอร์รี่  วินเตอร์ส-สโตน (Kerri Winters-Stone)  โรงเรียนพยาบาล  มหาวิทยาลัยสุขภาพและวิทยาศาสตร์ออริกอน  ประเทศสหรัฐอเมริกา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคี้ยวกี่ครั้ง สุขภาพถึงจะดี ??

สุขภาพดีเริ่มง่ายๆ ด้วยการเคี้ยว คุณเคยสังเกตตัวเองหรือไม่ว่า ใช้เวลาในการเคี้ยวอาหารคำละกี่ครั้ง   คนส่วนใหญ่มักทำไปตามนิสัยส่วนตัว แต่รู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของการเคี้ยวให้ละเอียดนั้น ส่งผลดีต่อสุขภาพมากเพียงใด ซึ่งเรื่องนี้  “ อาจารย์แววตา เอกชาวนา ”   นักโภชนาการบำบัด และผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ ให้ข้อมูลว่า   การเคี้ยวอาหาร ให้ละเอียดก่อนกลืนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นด่านแรกที่จะทำให้อาหารมีความละเอียดขึ้น ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ช่วยให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น และยังทำให้มีระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีเป็นปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี  แต่ถ้าหากเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ กระเพาะของเราจะต้องรับภาระในการย่อยอาหารมากขึ้น ยิ่งอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ กระเพาะจะต้องหลั่งกรด และมีการบีบตัวที่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดหรือท้องเฟ้อตามมา           นักโภชนาการบำบัดผู้นี้ บอกอีกว่า   การเคี้ยวอาหารให้ถูกต้องนั้นคือ เคี้ยวประมาณ 10 ครั้งสำหรับอาหารที่นิ่ม เช่นข้าว หรือ ขนมปัง ขณะเดี

4 สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ ลดพุง ลดหน้าท้อง

        ทำไมต้องใช้ สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ !      ฟังดูเหลือเชื่อแต่มันคือเรื่องจริงว่าเฉพาะพื้นผิวลำไส้เล็ก ก็มีขนาดถึง 250 ตารางเมตร หรือเท่ากับสนามเทนนิส 2 สนามเลยทีเดียว!!!   แต่เมื่ออยู่ในช่องท้องของเราจะมีรูปทรงหดย่นพับไปพับมา และเต็มไปด้วยซอกมากมาย และซอกตามรอยพับนี่แหละค่ะ ที่เป็นแหล่งสะสมของ “ตะกรันลำไส้” ที่เกิดจากการทานอาหารมันๆ ย่อยยาก รวมถึงอุจจาระเก่าที่ตกค้างจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลา อาจดูน่าตกใจ แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันสามารถสะสมอยู่ในลำไส้ของเราได้หลายกิโลกรัมเลยทีเดียวนะคะ ลำไส้ที่มีตะกรันสะสมมากๆ เสี่ยงกับอะไรบ้าง         - เป็นสิว ผิวพรรณไม่สดใส - มีกลินตัว - มีกลิ่นปากแบบไม่ทราบสาเหตุ - ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย - ถ่ายยาก ถ่ายไม่สุด - ท้องผูก ขับถ่ายไม่เป็นเวลา - มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง หรือท้องเสียบ่อย - มีอาการคล้ายกรดไหลย้อน (ซึ่งเกิดจากแก๊สในลำไส้) - เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ ทำเองง่ายๆ สูตรดีท็อกซ์ลำไส้ สูตรที่ 1 น้ำมะนาว+น้ำอุ่น      สูตรนี้ง่ายสุดๆ แต่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ ห

8 วิธีกิน "บุฟเฟ่ต์" ยังไงไม่ให้ "อ้วน"

1. เลือกเวลาทานบุฟเฟ่ต์    เวลาที่เราอยากทานบุฟเฟ่ต์ จะเลือกช่วงเวลาประมาณ บ่าย 2 - บ่าย 3 โมงเย็นค่ะ ถ้ารู้ตัวว่าจะมาทานบุฟเฟ่ต์ ก็จะไม่ทานมื้อกลางวัน และจะเริ่มทานบุฟเฟ่ช่วงเวลาประมาณบ่าย 2-3 โมง กว่าจะกินอิ่มก็ 4 โมงเย็นหรือ 5 โมงเย็น จะได้งดมื้อเย็นไปในตัวค่ะ เท่ากับว่ากิน 2 มื้อรวมกันคือมื้อกลางวันกับมื้อเย็น นั่นแปลว่าถ้าเราตัดสินใจจะทานบุฟเฟ่ต์ เราก็ต้องตัดใจไม่ทานอาหารมื้ออื่นๆ แล้วค่ะ 2. อย่ายัด    บุฟเฟ่ต์หลายร้านมักจะมีเวลากำหนด อาจจะ 1.30 ชั่วโมง หรือ 2.00 ชั่วโมง แล้วแต่ร้าน หลายคนกลัวไม่คุ้ม จึงรีบกิน เน้นกินเยอะ ฟาดเรียบทุกอย่าง แถมยังสั่งนู้นนี่นั่นมาเยอะเกินกำลังที่ตัวเองจะกินไหว ผลสุดท้าย ต้องมานั่งยัดอาหารที่เหลือ เพราะถ้ากินไม่หมดก็กลัวจะโดนปรับ - _- อยากบอกว่า ให้ค่อยๆ สั่งค่ะ สั่งทีละนิด แต่สั่งอาหารให้หลากหลาย อันไหนอร่อยค่อยสั่งเพิ่ม ค่อยๆ กิน ค่อยๆ เคี้ยว อย่ารีบกินเพื่อแข่งกับเวลา เพราะถ้าทำแบบนั้นจะกลายเป็นว่าเรากินทุกอย่างที่ขวางหน้า แบบนี้ความพยายามที่จะลดความอ้วนมา 2 เดือนเต็มนั้นสูญเปล่าแน่ๆ 3. เลือกกินแต่โปรตีนและผัก    บุฟเ